CMT 410 ขันโตกดินเนอร์ (Khantoke Dinner)
สัมผัสวัฒนธรรม ขันโตกล้านนาแบบบุฟเฟ่ต์ ที่คุ้มขันโตก หรือ ศูนย์วัฒนธรรมเชียงใหม่
การแสดงอาจมีการเปลี่ยนแปลง / อัพเดท สิงหาคม 2566
คุ้มขันโตก
  • ราคาเด็ก
  • ราคาผู้ใหญ่
  • พร้อมรถรับ - ส่ง
  • 490 บาทต่อท่าน
  • 590 บาทต่อท่าน
  • เดินทางไปเอง
  • 390 บาทต่อท่าน
  • 490 บาทต่อท่าน
  • ศูนย์วัฒนธรรมเชียงใหม่
  • ราคาเด็ก
  • ราคาผู้ใหญ่
  • พร้อมรถรับ - ส่ง
  • 590 บาทต่อท่าน
  • 690 บาทต่อท่าน
  • เดินทางไปเอง
  • 490 บาทต่อท่าน
  • 590 บาทต่อท่าน
  • โรงแรม / รีสอร์ท
  • - แพ็คเกจนี้ราคาไม่รวมที่พัก

  • อัตรานี้รวม
  • - อาหารขันโตก (เติมได้) + น้ำเปล่า
  • - รถรับส่งตลอดรายการ
    (เฉพาะแพ็คเกจพร้อมรถรับ - ส่ง)
  • อัตรานี้ไม่รวม
  • - ค่าตั๋วเครื่องบิน
  • - ที่พัก

  • หมายเหตุ
  • - แพ็คเกจนี้สำหรับ 2 ท่านขึ้นไป


  • ** ราคาและโปรแกรมทัวร์ สามารถเปลี่ยนแปลงได้ ขึ้นอยู่กับ จำนวนผู้เดินทาง **
    18.30 - 18.45 น. รถรับที่โรงแรมในตัวเมืองเชียงใหม่
    19.00 น. ร่วมรับประทานอาหารแบบขันโตก ขันโตกดินเนอร์
    21.30 น. กลับที่พัก

    สัมผัสวัฒนธรรม ขันโตกล้านนาแบบบุฟเฟ่ต์ เสิร์ฟกันแบบจุใจเรียกว่าเติมแบบไม่อั้นจริง ๆ
    เริ่มด้วยอาหารเรียกน้ำย่อยอย่าง กล้วยทอด ที่ใช้กล้วยน้ำว้าสุกกำลังดี ทอดจนกรอบนอกนุ่มใน
    รสชาติหวานมันกำลังดี พร้อมด้วยซุปใสร้อน ๆ รสชาติกลมกล่อม มาที่เมนูอาหารในขันโตกกันบ้าง
    เริ่มด้วยแกงฮังเลหมูนึกถึงอาหารเหนือทีไรพลาดไม่ได้กับเมนูนี้ หมูชิ้นใหญ่ เนื้อนุ่ม ผสมผสานเครื่องแกงฮังเลแบบเข้มข้น
    ไม่ลองแล้วจะเสียใจ ต่อกันที่ของขึ้นชื่ออีกอย่างที่ดังไม่แพ้กัน กับน้ำพริกหนุ่ม น้ำพริกอ่อง พร้อมผักลวกหลากหลายชนิด
    รสชาติกลาง ๆ ไม่เผ็ดมาก ทานคู่กับแคปหมูก็อร่อยแถมเข้ากันดี
    จานต่อไปเป็นไก่ทอด ชิ้นพอดีคำกรอบนอกเนื้อในนุ่ม ๆ ถัดมาเป็นผัดผักรวม และหมี่กรอบ รสชาติอร่อย
    จะเลือกทานกับข้าวเหนียวหรือข้าวสวยก็แล้วแต่ความชอบ ซึ่งอาหารทุกอย่างในโตกหมดแล้วสามารถเติมได้ตลอด
    เรียกได้ว่ากินกันจนเหนื่อย อิ่มจากของคาวก็ต้องปิดท้ายด้วยของหวานล้างปากกันซักหน่อย
    มีทั้ง ข้าวแต๋น หวานกรอบ อร่อย หรือจะเป็นผลไม้สดตามฤดูกาล ตบท้ายด้วย กาแฟหรือชา อิ่มจนลุกแทบไม่ขึ้น
    นอกจากจะอิ่มท้องด้วยอาหารแล้วยังมีอาหารตาเคล้าคลอด้วย

    1.คุ้มขันโตก

    ขึ้นชื่อว่าเป็นร้านอาหารไทยแบบล้านนาแท้ ๆ ของเมืองเชียงใหม่ภายนอกสวยงามสะอาดตา
    พื้นที่รอบ ๆ กว้างขวาง บรรยากาศภายในตกแต่งอย่างสวยงามด้วยสถาปัตยกรรมของชาวเหนือ
    ผสมผสานกับบรรยากาศพื้นบ้านล้านนา ทั้งงานศิลปะและงานฝีมือต่าง ๆ ที่วิจิตรบรรจงอย่างสวยงาม
    อันเป็นเอกลักษณ์ของคนเมืองแท้ ๆ ร่มรื่นด้วยร่มเงาของต้นไม้น้อยใหญ่ที่ขึ้นเรียงราย นอกจากนั้นยังจำลองตลาดขายสินค้าพื้นเมือง
    เพื่อให้ท่านได้เลือกซื้อสินค้าของที่ระลึก ประทับใจด้วยการรำแบบไทย ๆ พร้อมขบวนกลองยาว
    รอต้อนรับแขกที่มาเยือนด้านหน้า นั่งรับประทานอาหารที่บริเวณข่วงคนเมือง
    ซึ่งเป็นภัตตาคารกลางแจ้งในสวนที่สวยงาม นำทุกท่านย้อนสู่ บรรยากาศของหมู่บ้านไทยทางภาคเหนือ
    บรรยากาศตกแต่งแบบล้านนาแท้ ๆ ด้วยลวดลายที่วิจิตรสวยงาม และศิลปะการแสดงพื้นบ้านของชาวล้านนา

    การแสดง

    ประสบการณ์แห่งล้านนา...ที่คุณต้องมาสัมผัส

    - ขบวนแห่บูรณคตะบูชาสโตกคำและฟ้อนเล็บถือเป็นการแสดงการต้อนรับผู้มาเยือน ด้วยความเป็นมิตร และยินดียิ่ง

    - นกกิงกะลากับตัวโตเป็นศิลปะการร่ายรำของชาวไทยใหญ่ แสดงถึงเรื่องราวของสัตว์ที่เล่าขานมาแต่โบราณ

    - กลองสะบัดชัยเป็นการแสดงเพื่อเสริมสร้างกำลังใจ ให้แก่ไพร่พลในยามมีศึกสงคราม ด้วยลีลาการตีที่โลดโผน

    - เจ้าดารารัศมี เพลงที่ใช้ประกอบการแสดงชุดนี้เป็นการรำลึกถึงพระราชชายาเเจ้าดารารัศมี
    ที่ทรงเป็นขัตติยนารีศรีล้านนาและทรงเป็นแบบอย่างในเรื่องการอนุรักษ์วัฒนธรรมและขนบธรรมเนียมอันดีงามของล้านนา

    - หนุมานจับนางสุพรรณมัจฉา หรือ จับนางเป็นการแสดงโขน ซึ่งถือเป็นนาฏศิลป์ชั้นสูง แต่เดิมนิยมเล่นเฉพาะ
    ในพระราชวังเท่านั้น โดยมีหนุมานเป็นตัวละครเอกในเรื่องรามเกียรติ์ ได้รับอิทธิพลมาจากวรรณกรรมของอินเดีย เรื่อง “รามายณะ”

    - ระบำชาวเขา 4 เผ่าดัดแปลงมาจากการละเล่นในวันปีใหม่ของชาวเขาเผ่าต่าง ๆ ได้แก่ ลีซอ เย้า อาข่า และแม้ว
    มีลีลาที่เต็มไปด้วยชีวิตชีวา และความสุขสดใส ของชนกลุ่มน้อยที่อาศัยอยู่ในพื้นดินล้านนา

    - นาฏยรณสยามเป็นการแสดงที่แสดงให้เห็นถึงศิลปะการต่อสู้ของชาวไทยที่มีมาตั้งแต่สมัยโบราณ
    และมีการสืบทอดกันมาจนถึงปัจจุบัน ซึ่งถือว่าเป็นเอกลักษณ์ของชาติไทยจนเป็นที่รู้จักไปทั่วโลก

    - เซิ้งกะโป๋ คำว่า กะโป๋ หมายถึง กะลา ในภาษาอีสาน เซิ้งกะโป๋ เป็นการหยอกล้อกันระหว่างคนหนุ่มสาว
    โดยใช้กะลาเป็นเครื่องประกอบจังหวะ ด้วยลีลาที่สนุกสนานและเร้าใจ

    - รำวงมีขึ้นในชนบทภาคกลาง ช่วงก่อนสงครามโลกครั้งที่ 2 ไม่มีพิธีการที่ซับซ้อน แต่ฉาบไว้ด้วยเอกลักษณ์ที่บริสุทธิ์ แจ่มใสของความเป็นท้องถิ่น

    2.ศูนย์วัฒนธรรมเชียงใหม่

    เป็นที่รวมศิลปะและวัฒนธรรมของล้านนาเป็นหมู่เรือนไทย ไม้สักประตูหน้าต่างประดับด้วยไม้แกะสลักอย่างสวยงาม
    มีร้านขายของที่ระลึกอยู่หลายร้านและมีหมู่บ้านชาวเขาให้เที่ยวชม ส่วนในตอนกลางคืนมีบริการอาหารเย็นแบบขันโตก
    ซึ่งประกอบด้วยอาหารเหนือ เช่นแกงฮังเลน้ำพริกอ่อง แคบหมู เป็นต้น โดยนักท่องเทียวจะรับประทานอาหาร
    และชมการแสดงฟ้อนพื้นเมือง ไปพร้อมๆกับลิ้มรสอาหารเมือง
    ขันโตก เป็นภาชนะที่มีลักษณะเป็นถาดมีขาตั้งสูง ใช้วางอาหาร ใช้กันในหมู่คนที่นิยมรับประทานข้าวเหนียวเป็นอาหารหลัก
    ขันโตกมีสองชนิด คือ ขันโตกยวนซึ่งทำด้วยไม้สัก ใช้กันแพร่หลายในแถบภาคเหนือของประเทศไทย
    อีกชนิดหนึ่งคือขันโตกลาว ทำด้วยไม้ไผ่สานประกอบด้วยหวายในบางส่วน นิยมใช้ในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ลาว
    และแถบสิบสองปันนาในทางตอนใต้ของจีน ชาวเขาบางกลุ่มก็นิยมใช้ขันโตกดังกล่าวนี้ด้วย
    ในสมัยโบราณขันโตกเป็นเครื่องใช้ส่วนหนึ่ง ของงานพิธีต่าง ๆ เช่น งานแต่งงาน งานศพ และพิธีทำบุญบ้านเป็นต้น
    อาหารที่ใช้เลี้ยงเป็นอาหารของคนไทยทางภาคเหนือและจะเป็นอาหารของภาคอื่นๆ
    ณ ที่นี่ศูนย์วัฒนธรรมเชียงใหม่ได้จัดเตรียมอาหารพื้นเมืองไว้คอยบริการท่าน ดังต่อไปนี้
    คือ น้ำพริกหนุ่ม, ไก่ทอด, แกงฮังเล, ผัดผัก, น้ำพริกอ่อง, แคบหมูและผักสดผักนึ่ง, หมี่กรอบ และยังมีข้าวแต๋น กล้วยทอด
    ซึ่งเป็นขนมขบเคี้ยวของคนโบราณ พร้อมชา, กาแฟ ที่เราจัดเตรียมเพื่อต้อนรับแขกของเรา
    ข้าวที่นำมาบริการ มีทั้งข้าวจ้าว และข้าวเหนียว ซึ่งข้าวเหนียวบรรจุมาในกระติ๊บ(กล่องข้าว)
    สำหรับผู้รับประทานอาหารมังสวิรัติหรืออาหารอิสลามและอาหารอื่น ๆ
    สามารถแจ้งได้ล่วงหน้าเพื่อความรวดเร็วและสะดวกในการบริการ
    นาฏศิลป์ล้านนา ที่ศูนย์วัฒนธรรมเชียงใหม่ นอกจากจะจัดเตรียมอาหารรสเลิศไว้บริการแขกคนพิเศษของเราแล้ว
    เรายังเตรียมการแสดงพื้นเมืองแท้ ไว้เป็นอาหารตาชิ้นพิเศษสำหรับทุกท่าน ให้คุณได้ลิ้มลอง
    ไปพร้อมกับการรับประทานอาหารอีกด้วย การแสดงของเราแบ่งเป็น 2 ส่วน คือ การแสดงพื้นเมืองและการแสดงชาวเขา
    ในส่วนของการแสดงพื้นเมือง เรามีการแสดงทั้งสิ้น 13 ชนิดสลับสับเปลี่ยนกันแสดงทุกคืน

    1.ฟ้อนเล็บ เป็นสัญลักษณ์อย่างหนึ่งของชาวลานนาไทย ซึ่งมักจะแสดงในโอกาสพิเศษเพื่อต้อนรับแขกผู้มีเกียรติ
    หรือฟ้อนสมโภชในทางพุทธศาสนาท่าเดินของฟ้อนเล็บนี้ถือกันว่าได้เลียนแบบมาจากการเยื้องย่างของช้าง
    ซึ่งในโบราณถือว่าเป็นสัตว์ชั้นสูงมีคุณค่ามากแต่เดิมการฟ้อนเล็บนี้ไม่มีท่ารำเฉพาะแน่นอน
    พระราชชายาเจ้าดารารัศมี (ณ เชียงใหม่) ในรัชการที่ 5 (พ.ศ. 2416-2476)
    ได้ทรงโปรดปรับปรุงแก้ไขให้สวยงามและมีท่ารำเฉพาะแน่นอน

    2. ฟ้อนดาบ เป็นการแสดงศิลปะอย่างหนึ่งที่มีลักษณะเกี่ยวข้องกับการต่อสู้ป้องกันตัว
    เป็นการแสดงชั้นเชิงของการต่อสู้รวมกับท่าฟ้อนที่สวยงาม

    3. ฟ้อนสาวไหม เป็นการฟ้อนพื้นเมืองที่เลียนแบบมาจากการทอผ้าไหมของชาวบ้าน การฟ้อนสาวไหมเป็นการฟ้อนรำแบบเก่า
    เป็นท่าหนึ่งของฟ้อนเจิงซึ่งอยู่ในชุดเดียวกับการฟ้อนดาบ ลีลาการฟ้อนเป็นจังหวะที่คล่องแคล่วและรวดเร็ว
    (สะดุดเป็นช่วง ๆ เหมือนการทอผ้าด้วยกี่กระตุก) ประมาณปี พ.ศ. 2500 คุณบัวเรียว รัตนมณีกรณ์ ได้คิดท่ารำขึ้นมา
    โดยอยู่ภายใต้การแนะนำของบิดา ท่ารำนี้ได้เน้นถึงการเคลื่อนไหวที่ต่อเนื่องและนุ่มนวล
    ซึ่งเป็นท่าที่เหมาะสมในการป้องกันไม่ให้เส้นไหมพันกัน ในปี พ.ศ. 2507 คุณพลอยศรี สรรพศรี ช่างฟ้อนเก่าในวัง-
    ของเจ้าเชียงใหม่องค์สุดท้าย (เจ้าแก้วนวรัฐ) ได้ร่วมกับคุณบัวเรียวขัดเกลาท่ารำขึ้นใหม่
    ต่อมาในปี พ.ศ. 2520 คณะอาจารย์วิทยาลัยนาฏศิลป์เชียงใหม่ ได้คิดท่ารำขึ้นมาเป็นแบบฉบับของวิทยาลัยเอง
    การฟ้อนของทางศูนย์วัฒนธรรมเชียงใหม่เป็นการรวบรวมท่ารำที่สวยงามของทั้งสองฝ่ายเข้าด้วยกัน

    4. ระบำไก่ เป็นระบำชุดหนึ่งจากละครเรื่องพระลอตามไก่ เป็นการร่ายรำของบริวารของไก่แก้ว
    พระราชชายาได้ทรงคิดท่ารำขึ้นเนื่องในโอกาสฉลองกู่ (ที่บรรจุอัฐิ) ของเจ้านายเมืองเชียงใหม่
    ในปี พ.ศ. 2452 ที่ท่านทรงนำมารวบรวมไว้ที่วัดสวนดอก จากงานพระนิพนธ์ของ
    พระเจ้าบรมวงศ์เธอกรมพระนรา-ธิปประพันธ์พงศ์ที่รัชกาลที่ 5 ทรงประทานให้แก่ท่าน
    เรื่องพระลอนี้เป็นเรื่องทางลานนา เชื่อกันว่ามีเค้าโครงจากเรื่องจริง
    ซึ่งเกิดขึ้นในราวปี พ.ศ. 1629-1693 ระหว่างเมืองสองเมือง เมืองของพระลอกับเมืองของพระเพื่อนพระแพง
    สันนิษฐานว่าอยู่ในตอนเหนือของจังหวัดลำปางและจังหวัดแพร่ในปัจจุบันตามลำดับ
    ผู้เล่าเรื่องดั้งเดิมเป็นคนเมืองแพร่ เพราะเรื่องพระลอไม่ได้แพร่หลายในลานนาตะวันตก
    และเพราะว่าในสมัยโบราณแพร่ติดต่อกับกรุงศรีอยุธยามากกว่าติดต่อกับลานนาตะวันตก
    จึงทำให้เรื่องพระลอถูกเขียนขึ้นเป็นครั้งแรกโดยกวีกรุงศรีอยุธยาในลักษณะลิลิตระหว่างพ.ศ.1991-2076

    5. ฟ้อนเงี้ยว เป็นการฟ้อนของเมืองเหนือ ที่ได้ดัดแปลงมาจากการละเล่นของไทยใหญ่ (เงี้ยว)
    ต่อมาครูช่างฟ้อนในคุ้มหลวงเชียงใหม่ได้ปรับปรุงแก้ไขให้สวยงามขึ้น การแต่งกายสำหรับผู้ฟ้อนนิยมเป็น 2 แบบ
    แบบไทยใหญ่ใช้กางเกงเป้ากว้าง และแบบพม่าใช้ผ้าโสร่ง จะใส่ลอยชายหรือโจงกระเบนก็ได้

    6. ระบำซอ ได้ถูกแต่งและประดิษฐ์จากครูเพลง และครูช่างฟ้อนในวังของเจ้าดารารัศมีในปี พ.ศ. 2470
    ใช้ฟ้อนในโอกาสที่ถวายต้อนรับพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว (พ.ศ. 2468-2478)
    เสด็จประพาสเชียงใหม่ และในโอกาสสมโภชน์ช้างเผือกซึ่งน้อมเกล้าฯถวายให้ท่าน การแต่งกายเป็นชุดกระเหรี่ยง

    7. ฟ้อนม่านมุ้ยเชียงตาเป็นการฟ้อนผสมระหว่างการฟ้อนในราชสำนักพม่าและรำไทยพระราชชายาเจ้าดารารัศมี
    ได้ทรงให้ครูช่างฟ้อนชาวพม่าและครูช่างฟ้อนในวังของท่านคิดท่ารำขึ้นมาระหว่างปี พ.ศ. 2458-2469
    เครื่องแต่งกายเป็นแบบหญิงในราชสำนักพม่าสมัยพระเจ้าสีป้อ(พ.ศ.2421-2428)กษัตริย์องค์สุดท้ายของพม่า

    8. ฟ้อนลื้อ การฟ้อนนี้เดิมเป็นการฟ้อนของชาวไทยลื้อ หมู่บ้านหนองบัว อำเภอท่าวังผา จังหวัดน่าน
    บรรพบุรุษของชาวไทยลื้อนี้เดิมเป็นพวกอพยพสงครามจากแคว้นสิบสองปันนาในมณฑลยูนานของจีน
    ชาวไทยลื้อเหล่านี้หลบหนีการต่อสู้ระหว่างพระเจ้าสิบสองปันนาและหลานชายซึ่งสู้รบกันในระหว่างปี พ.ศ.2365-2366
    แตกต่างจากบรรพบุรุษของชาวไทยลื้อกลุ่มอื่นในทางตอนเหนือของประเทศไทยซึ่งอพยพมาก่อนหน้านี้ประมาณ 22 ปี
    ในฐานะเชลยสงครามบางพวกก็ถูกชักชวนให้มาตั้งถิ่นฐานใหม่

    9. ฟ้อนโยคีถวายไฟ เจ้าแก้วนวรัฐ (พ.ศ. 2454-2482) เจ้าครองเมืองเชียงใหม่องค์สุดท้าย
    ได้ทรงให้นักดนตรีในวังของท่านและครูช่างฟ้อนชาวพม่าร่วมกันคิดท่ารำและบทเพลงขึ้นมา
    ในโอกาสเสด็จประพาสเชียงใหม่ของกรมพระนครสวรรค์วรพินิจ โอรสในพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว
    ในปี พ.ศ. 2465 ท่ารำได้ดัดแปลงมาจากท่าฤษีดัดตน เดิมเป็นการแสดงของผู้ชาย
    และในปี พ.ศ. 2477 ได้เปลี่ยนให้เป็นท่ารำของผู้หญิงเนื่องจากช่างฟ้อนผู้ชายหายาก

    10. ฟ้อนน้อยใจยา เป็นฉากหนึ่งของละครเพลงชื่อเดียวกัน ได้แต่งขึ้นในปี พ.ศ. 2464 โดยท้าวสุนทรโวหาร
    คนเขียนหนังสือของอนุชาเจ้าดารารัศมี และถวายแก่เจ้าดารารัศมีในวันเกิดของท่าน ต่อมาเจ้าดารารัศมี
    ได้ขัดเกลาบางตอนของละครและแต่งเพลงน้อยใจยาขึ้น ฉากนี้แสดงถึงน้อยใจยาชายหนุ่มผู้ยากจนได้ตัดพ้อ -
    ต่อว่าแว่นแก้วสาวงามแห่งหมู่บ้าน ซึ่งจะแต่งงานกับส่างนันตาชายหนุ่มผู้ร่ำรวยแต่หน้าตาอัปลัษณ์ของอีกหมู่บ้านหนึ่ง
    แว่นแก้วบอกน้อยใจยาว่าเรื่องทั้งหมดนี้ไม่ใช่ความผิดของเธอ แต่เป็นความเห็นชอบของบิดามารดา
    และได้ยืนยันความรักของเธอที่มีต่อเขา หลังจากปรับความเข้าใจกันแล้วก็พากันหนีไป

    11. ฟ้อนเทียน ใช้ฟ้อนในเวลากลางคืน ไม่สวมเล็บ แต่ถือเทียนสองข้างประกอบการฟ้อน
    พระราชชายาฯได้ทรงปรับปรุงขึ้นจากการฟ้อนเล็บ เพื่อจะฟ้อนรับเสด็จรัชกาลที่ 7 ในคราวเสด็จประภาสเชียงใหม่พ.ศ.2469

    12. ฟ้อนไต ไตคือชื่อที่คนไทยใหญ่เรียกตัวเอง คนไทยใหญ่นี้นอกจากจะอาศัยอยู่ในรัฐฉาน ประเทศเมียนมาร์
    แล้วยังอาศัยอยู่ในจังหวัดแม่ฮ่องสอนด้วย ฟ้อนไตได้ถูกคิดท่ารำโดยครูแก้วและนางละหยิ่น ทองเขียวผู้เป็นภรรยา
    ผู้ซึ่งเป็นคนไทยใหญ่ด้วย โดยในระหว่าง พ.ศ. 2483-97 ขณะที่ นางละหยิ่นได้อาศัยที่เชียงใหม่กับครูแก้ว
    นางได้เห็นการแสดงฟ้อนม่านมุ้ยเชียงตาและได้ประทับใจมาก เมื่อนางกับครูแก้วกลังไปอยู่แม่ฮ่องสอนแล้ว
    จึงได้คิดท่ารำของฟ้อนไตขึ้นจากท่ารำของรำไทย พม่า และฟ้อนเชียงใหม่ ในปีพ.ศ.2500

    13.รำวง เกิดจากรำโทนของนครพนมและได้แพร่หลายไปยังภาคอื่น ๆ ของประเทศไทย
    ต่อมาจอมพล ป.พิบูลสงครามได้มีคำสั่งให้กรมศิล์ปากรจัดท่ารำเป็นรำวงมาตรฐานขึ้น